ความปลอดภัยและทักษะการปฏิบัติการเคมี
1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
1.1.1 ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติต่างกัน สารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของตัวมันเองเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนำไปใช้ และการกำจัด โดยฉลากควรมีข้อมูลดังนี้
- ชื่อผลิตภัณฑ์
- รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอัตรายของสารเคมี
- คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
- ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
ตัวอย่างฉลาก
และควรมีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายด้วย
ตัวอย่างสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS
ตัวอย่างสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA
1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี
ก่อนทำปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยให้สอบถามก่อนทดลอง
2) ศึกษาข้อมูลของสารที่ใช้ทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์รวมถึงวิธีการทดลองที่ถูกต้อง
3) แต่งกายให้เหมาะสม
ขณะปฏิบัติการ
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
1.1 สวมแว่นตานิรภัย ติดกระดุมเสื้อคลุมทุกเม็ด สวมถุงมือเมื่อใช้สารกัดกร่อนหรือสารอันตราย สวมผ้าปิดปากเมื่อใช้สารเคมีที่มีไอระเหย และทำการปฏิบัติการในที่ซึ่งอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มหรือทำกิจกรรมอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ
1.3 ไม่ทำการทดลองตามลำพัง
1.4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นขณะทำการปฏิบัติการ
1.5 ทำตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด
1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อนทำงานโดยไม่มีคนดูแล
2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
2.1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนใช้
2.2 เคลื่อนย้าย แบ่ง ถ่ายเท สารเคมีด้วยความระมัดระวัง
2.3 หันปากหลอดทดลองออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ
2.4 ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง
2.5 การเจือจางกรด ให้เทกรดลงน้ำ
2.6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดลงขวดเดิมโดยเด็ดขาด
2.7 เมื่อสารเคมีหกเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ดแต่ถ้าหกมากให้แจ้งครูผู้สอน
หลังปฏิบัติการ
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์รวมทั้งทำความสะอาดโต๊ะปฏิบัติการ
2) ถอดอุปกรณ์ป้องกันอัตรายก่อนออกจากห้อง
1.1.3 การกำจัดสารเคมี
1) สารเคมีที่ละลายน้ำได้และมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตรสามารถเททิ้งลงอ่างน้ำได้
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิดควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ ถ้าปริมาณมากต้องทำให้เป็นกลางก่อน
3) สารที่เป็ของแข็งไม่อันตรายไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ภาชนะปิดมิดติดฉลากให้ชัดเจนและทิ้งในที่ซึ่งเตรียมไว้ได้เลย
4) สารไวไฟ ตัวทำลำลายไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษหรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ
1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี
การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี
- ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออกและซับสารออกจากร่างกายให้มากที่สุด
- กรณีที่สารเคมีละลายน้ำได้ให้ล้างออกโดยให้น้ำไหลผ่านมากๆ
- กรณีที่สารเคมีไม่ละลายน้ำให้ล้างด้วยน้ำสบู่
- หกทราบว่าสารที่โดนตัวคือสารอะไรให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารความปลอดภัย
กรณีที่ร่างกายสัมผัสกับสารเคมีในปริมาณมากหรือความเข้มข้นสูงให้ปฐมพยาบาลแล้วนำส่งแพทย์
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างตาโดยการเปิดน้ำเบาๆไหลผ่านดั้งให้น้ำไหลผ่านเข้าตาข้างที่ดดนสารเคมี พยายามลืมตาและกรอกตาในน้ำอย่างน้อย 10 นาทีหรือจนกว่าจะแน่ใจว่าชะสารออกหมดแล้ว ระวังไม่ให้น้ำเข้าตาอีกข้างแล้วนำส่งแพทย์ทันที
การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ
- รีบออกจากบริเวณทีี่มีแก๊สพิษเกิดขึ้น
- รีบเคลื่อนย้ายผู้ที่หมดสติออกจากบริเวณโดยผู้ช่วยเหลือต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสม
- ปลดเสื้อผ้าให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจสะดวกขึ้น หากหมดสติให้จับนอนคว่ำและตะแคงหน้าไปทางใดทางหนึ่ง
- สังเกตการเต้นของหัวใจและการหายใจ หากหยุดหายใจให้ผายปอดแต่ไม่ควรใช้วิธีเป่าปากและนำส่งแพทย์
แช่น้ำเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำจนหายแสบร้อน ทายาขี้ผึ้งสำหรับไฟไหม้และน้ำร้อนลวกแล้วนำส่งแพทย์
กรณีที่สารเคมีเข้าปากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำตามเอกสารความปลอดภัยแล้วนำส่งแพทย์ทุกกรณี
1.3 การวัดปริมาณสาร
ในการปฏิบัติการเคมีจำเป็นต้องมีการชั่ง ตวง วัดปริมาณสาร ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดจากอุปกรณืที่ใช้ หรือผู้ทำปฏิบัติการ ที่จะส่งผลให้การทดลองที่ได้มีค่าต่างจากค่าจริง
ความน่าเชื่อถือของข้อมูล พิจารณาได้จากความเที่ยงและความแม่นของข้อมูล คือความใกล้เคียงกันของค่าที่ได้จากการวัดซ้ำและความใกล้เคียงจากการวัดซ้ำเทียบกับค่าจริง โดยขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ที่ทำการวัดและความละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้
1.3.1 อุปกรณ์วัดปริมาตร
บีกเกอร์ (beaker) - เป็นทรงกระบอกปากกว้าง มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด
ขวดรูปกรวย (erlenmeyer flask) - คล้ายผลชมพู่ มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด
กระบอกตวง (measuring cylinder) - ทรงกระบอก มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด
ปิเปตต์ (pipette) - เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นสูง ใช้สำหรับถ่ายเทของเหลว มี 2 แบบ คือ แบบปริมาตรซึ่งมีกระเปาะตรงกลาง มีขีดบอกปริมาตรเพียงค่าเดียวและแบบใช้ตวง มีขีดบอกปรอมาตรหลายค่า
บิวเรตต์ (burette) - เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายเทของเหลวในปริมาตรต่างๆตามต้องการ ลักษณะเป็นทรงกระบอกยาวที่มีขีดบอกปริมาตร และมีอุปกรณ์ควบคุมการไหลของของเหลวที่เรียกว่า ก๊อกปิดเปิด
ขวดกำหนดปริมาตร (volumetric flask) - เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของเหลวที่บรรจุภายใน ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน มีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียว มีจุกปิดสนิท มีหลายขนาด
1.3.2 อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่ง เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดมวลของสารทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว ความน่าเชื่อถือของค่ามวลที่วัดได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมีโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ เครื่องชั่งแบบสามคานและเครื่องชั่งไฟฟ้า
เครื่องชั่งแบบสามคาน
เครื่องชั่งไฟฟ้า
1.3.3 เลขนัยสำคัญ
การนับเลขนัยสำคัญ มีหลักการดังนี้
- ตัวเลขที่ไม่มีเลข 0 ทั้งหมดนับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 0 ที่อยู่ระหว่างตัวเลขอื่น นับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 0 ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่น ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 0 ที่อยู่อยู่หลังตัวเลขอื่นที่อยู่หลังทศนิยม นับเป็นเป็นเลขนัยสำคัญ
- 0 ที่อยู่หลังเลขอื่นที่ไม่มีทศนิยม อาจนับหรือไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญก็ได้
- ตัวเลขที่แม่นตรงเป็นตัวเลขที่ซ้ำเข้าแน่นอนมีเลขนัยสำคัญเป็น อนันต์
- ข้อมูลที่มีค่าน้อยมากๆหรือเขียนในรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ตัวเลข สัมประสิทธิ์ ทุกตัวนับเป็นนัยสำคัญ
- กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขที่อยู่ถัดไปทั้งหมด
- กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการอีก 1
- กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ 0 ต่อจากเลข 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการอีก 1
- กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และไม่มีตัวเลขอื่นต่อจากเลข 5 ต้องพิจารณาตัวเลขที่อยู่ หน้าเลข 5 ดังนี้
4.2 หากตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ ให้ตัวเลขกล่าวเป็นตัวเลขเดิม แล้วตัดตัวเลขตั้งแต่ 5 ลงไปทั้งหมดออก
1.4 หน่วยวัด
1.4.1 หน่วยในระบบ SI
หน่วย SI พื้นฐาน มี 7 หน่วย ได้แก่
- มวล - กิโลกรัม (kg)
- ความยาว - เมตร (m)
- เวลา - วินาที (s)
- อุณหภูมิ - เคลวิน (K)
- ปริมาณของสาร - โมล (mol)
- กรพแสไฟฟ้า - แอมแปร์ (A)
- ความเข้มแห่งการส่องสว่าง - แคนเดลลา (cd)
หน่วย SI อนุพันธ์
- ปริมาตร - ลูกบาศก์เมตร (m³)
- ความเข้มข้น - โมลต่อลูกบาศก์เมตร (mol/m³)
- ความหนาแน่น - กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m³)
เช่น ปริมาตร - ลิตร มวล - กรัม , ดอลตัน , หน่วยมวลอะตอม ความดัน - บาร์ , มิลลิเมตรปรอท , บรรยากาศ ฯลฯ
1.4.2 แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
เป็นอัตราส่วนระหว่างหน่วยที่แตกต่างกัน 2 หน่วยที่มีปริมาณเท่ากัน
วิธีการเทียบหน่วย
ทำได้โดยการคุูณปริมาณในหน่วยเริ่มต้นด้วยแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยที่มีหน่วยที่ต้องการอยู่ด้านบน ตามสมการ
ปริมาณและหน่วยที่ต้องการ = ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น x หน่วยที่ต้องการ / หน่วยเริ่มต้น
1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศสาตร์ที่มีแบบแผนขั้นตอน โดยภาพรวมทำได้ดังนี้- การสังเกต - อาศัยประสาทสัมผัะสทั้ง 5 โดยจะนำไปสู่ข้อสงสัยหรือตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ
- การตั้งสมมติฐาน - เป็นการคาดเดาคำตอบของคำถามหรือปัญหา โดยมีพื้นฐานจากการสังเกต ความรู้ หรือประสบการณ์เดิม
- การตรวจสอบสมมติฐาน - เป็นกระบวนการหาคำตอบของสมมติฐาน โดยมีการออกแบบการทดลองที่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ
- การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล - เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนทั้งหมดมารวบรวม วิเคราะห์ และอธิบายข้อเท็จจริง
- การสรุปผล - เป็นการสรุปความรู้หรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น